น้องอั๋น ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย (แบบเฉียบพลัน) ตั้งแต่ อายุ 3 ขวบ ธันวาคม 2552 คุณหมอบอกว่า การรักษาต้องให้ยาเคมีบำบัด ถึง 3 ปี มีอาการซีด ปวดแขน ขา มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง ช่วงให้ยาน้องมีอาการแพ้มาก จนเม็ดเลือดขาวต่ำให้ยาเคมีบำบัดไม่ได้ จนกว่าค่าเม็ดเลือดจะดีขึ้น ต่อมา มีคนแนะนำให้ทานเบต้ากลูแคน มะโฮ ทานอยู่ 3 เดือน หลังจากนั้น น้องอั๋น ผลตรวจเลือดออกมาดีขึ้น สุขภาพดีขึ้น ผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดลดลง จึงได้รับการรักษาจนถึง 3 ปี และยังทานอยู่ทุกวัน กับการตัดสินใจ ปัจจุบันน้องอั๋นอายุ 9 ขวบร่างกายแข็งแรงดี

น้องอั๋น มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคลูคีเมีย หรือลิวคีเมีย(Leukemia)

คือมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนในไขกระดูกมีการเจริญแบ่งตัวเร็วผิดปกติและกลายเป็นเซลล์ผิดปกติ  สามารถแพร่กระจายแทรกซึมไปอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ตับ ม้าม อัณฑะ ผิวหนัง กระดูก รวมทั้งแทรกซึมในไขกระดูก ทำลายกระบวนการสร้างเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดในไขกระดูก  ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และมีภูมิคุ้มกันต่ำ ก่อให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ 

ชนิดของ มะเร็งเม็ดเลือดขาว

  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดเอแอลแอล (ALL) เป็นชนิดที่พบได้ในทุกช่วงอายุ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กอายุ 2-5 ปี (พบได้ประมาณ 70-80% ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กทั้งหมด)
  2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดเอเอ็มแอล (AML) เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด โดยพบได้ประมาณ 15-20% ของผู้ป่วยเด็กทั้งหมดที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งในช่วงอายุ 4 สัปดาห์แรกหลังคลอด ถ้าพบเด็กเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดก็มักจะพบว่าเป็นชนิดนี้ และจะพบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จึงพบได้ในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก พบได้สูงในกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง ทั้งนี้ในผู้ใหญ่จะเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดนี้ประมาณ 80-90%
  3. มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีแอลแอล (CLL) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ และมีความชุกของโรคมากขึ้นตามอายุ พบได้มากในกลุ่มอายุมากกว่า 55-60 ปี
  4. มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีเอ็มแอล (CML) เป็นชนิดที่พบได้น้อย พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่จะพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุประมาณ 40-60 ปี มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย และในผู้ป่วยเด็กนั้นประมาณ 80% มักพบในเด็กอายุมากกว่า 4 ปี

อาการของ มะเร็งเม็ดเลือดขาว

อาการต่างๆเกิดจากเม็ดเลือดเสียหน้าที่เช่น เม็ดเลือดขาวเสียหน้าที่ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อง่ายมีไข้ เซลล์มะเร็งมีมากจะทำให้เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดมีน้อยทำให้เกิด ซีด และเลือดออกง่าย นอกจากนี้ยังเกิดอาการต่างๆตามที่เซลล์มะเร็งไปอยู่ เช่น ปวดศีรษะ อาการที่พบบ่อยๆมีดังนี้

  • ผู้ป่วยติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย มักมีไข้สูงเป็น ๆ หาย ๆ บ่อยกว่าคนทั่วไป
  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ (เป็นได้ทั้งไข้ต่ำและไข้สูง แต่มักเป็นไข้สูง)
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • ปวดกระดูกและข้อ
  • ทำให้เกิดภาวะซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เวียนศีรษะ และหัวใจเต้นเร็ว ในบางรายเมื่อมีภาวะซีดมากอาจมีอาการหอบเหนื่อยและหัวใจวายได้
  • มีจ้ำเขียวตามตัว หรือมีเลือดออกผิดปกติที่ผิวหนังเป็นจุดแดงเล็ก ๆ หรือมีเลือดออกง่าย เช่น เลือดออกบ่อยในขณะแปรงฟัน เลือดกำเดาไหล ถ่ายเป็นเลือด ประจำเดือนออกมากผิดปกติ
  • ต่อมน้ำเหลืองโตตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ก้อนบวมที่บริเวณลำคอ รักแร้ หรือขาหนี  ตับและม้ามโตจนคลำได้ (ซึ่งปกติจะคลำไม่ได้) ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ปวดท้อง

สาเหตุของ มะเร็งเม็ดเลือดขาว

ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว  3ปัจจัย หลัก ๆ คือ

  1. ทางด้านพันธุกรรม  เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) 
    • ครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด ALL
    • ในฝาแฝดที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด ALL โดยเฉพาะเมื่อเป็นโรคตั้งแต่อายุยังน้อย 
    • ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิด CML 
  2. ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม
    • ได้รับรังสีไออนไนซ์ (Ionizing radiation) ในปริมาณสูง 
    • ได้รับยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นมาก่อน 
    • ได้รับสารกัมมันตรังสีในปริมาณที่ไม่ถึงกับทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับหน่วยพันธุกรรมของเซลล์ไขกระดูก
    • อาจเกิดจากควันบุหรี่และการสูบบุหรี่
  3. ปัจจัยจากภาวะภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรคบกพร่อง
    • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่องมาแต่กำเนิด
    • การได้รับยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค
    • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชทีแอลวี-1 (Human T-cell lymphotropic virus type 1 หรือเรียกย่อว่า HTLV-1) หรือเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) 

วิธีการรักษา โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับการรักษาในระแยกแรกของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้นจะเป็นการการรักษาแบบประคับประคอง (Supportive care) และควบคุมโรคให้สงบ (Remission) ซึ่งหลังจากนั้นก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ้ำ (Relapse) โดยมีผู้ป่วยหลายรายที่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ซึ่งการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีดังนี้
1. การให้เคมีบำบัด โดยวิธีนี้สามารถทำได้ทั้งแบบรับประทานและฉีด (บางชนิดอาจต้องฉีดเข้าไขสันหลัง)
2. การใช้ยาฉีดอินเทอร์เฟียรอน ช่วยให้โครโมโซมกลับมาเป็นปกติได้ แต่วิธีนี้มีราคาค่อนข้างสูงมาก แถมยังต้องฉีดทุกวันด้วย และยังมีผลข้างเคียงมาก
3. การปลูกถ่ายไขกระดูก โดยให้เคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี และนำไขกระดูกของผู้ที่มีเลือดเข้ากันได้อย่างพ่อแม่พี่น้อง เป็นต้น
4. การรับประทานยากลีเวค สามารถช่วยทำให้จำนวนฟิลาเดลเฟียโครโมโซมลดลงเหลือศูนย์ได้ ทำให้สามารถหายขาดเป็นปกติได้ แต่ตัวยานี้มีราคาค่อนข้างแพงมาก
5. เมื่อมีภาวะของโรคแทรกซ้อนมากก็จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ Antibiotic ในการรักษา


การรักษาทางเลือกด้วย มะโฮ เบต้ากลูแคนจากยีสต์ดำ

เบต้ากลูแคนจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย กระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้รู้หน้าที่ มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยที่ให้คีโม หรือ รังสีรักษา สามารถรักษาควบคู่กันไปได้ เบต้ากลูแคนจะฟื้นฟูเซล์ ฟื้นร่างกายเองตามธรรมชาติ ค่าสุขภาพต่างๆจะดีขึ้นเองเมื่อภูมิคุ้มกันทำงานดีแล้ว เป็นความมหัศจรรย์ของร่างกายเมื่อถูกกระตุ้น   และไม่เกิดอาการแพ้คีโมบำบัด หรือฉายแสง ข้อมูลเบต้ากลูแคนเพิ่มเติมที่ http://www.betaglucan-maho.com/Betaglucan/มะโฮ/  ปรึกษา สอบถามได้ครับ O94-612-2800 คุณโอห์ม LINE ID: betaglucan-maho
ข้อแนะนำเพิ่มเติมช่วงรักษาโรค: งดทานเนื้อทุกชนิด ของหวาน เค็มจัด ของหมักดอง เหล้า บุหรี่
0 0 votes
Rating